• ฮีสตามีนในทูน่าแช่แข็ง

     ทูน่า เป็นปลาอีกชนิดที่นำมาปรุง ประกอบและทำอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งเมนูที่ทานแบบดิบ เช่น ซาซิมิ และเมนูที่ทานสุก เช่น สเต็ก หรือจะนำมาแปรรูปเป็นทูน่ากระป๋อง เช่น  ทูน่าในน้ำเกลือ น้ำมัน หรือในซอสมะเขือเทศ ก็เป็นอาหารที่คนไทยมักตุนไว้ทานในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 ท่านที่ชอบทานทูน่าวันนี้คอลัมน์มันมากับอาหาร จะขอเตือนในเรื่อง อันตรายจากสารฮีสตามีนที่อาจพบในปลาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะปลาทูน่า ปลาโอแถบ ปลาโอครีบเหลืองปลาโอครีบฟ้า ปลาหลังเขียว ปลาแมกเคอเรล หอยเปาฮื้อ ฯ 

  • ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ในเห็ดเข็มทอง

    เห็ดเข็มทอง  วัตถุดิบอีกชนิดที่คนไทยนำมาปรุง ประกอบเป็นอาหารหลากหลายเมนู โดยเฉพาะใช้เป็นส่วนประกอบของเมนู หมูกระทะ ชาบู สุกี้  หรือนำมาปรุงเป็นยำ ทำเป็นลาบเห็ดเข็มทอง  หรือนำมาผัดน้ำมันหรือผัดเนย หรือพันเบคอนแล้วปิ้งย่าง  ล้วนเป็นเมนูที่คนไทยนิยมในยุคนี้ วันนี้ คอลัมน์มันมากับอาหาร ขอนำเสนอเรื่องราวของเห็ดเข็มทองที่หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่าเห็ดเข็มทองดิบ  อาจมีเชื้อก่อโรคที่ชื่อว่า  ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส  ปนเปื้อนอยู่ได้

  • DNA หมูในเนื้อวัวสด

    ความทันสมัยของโลก และวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว ทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน จนถึงอาหารการกิน หากนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทางที่ดีก็จะสามารถส่งเสริมให้เกิดการสร้างมูลค่าให้กับสินค้านั้นๆ ได้ ในทางกลับกันหากนำเทคโนโลยีและความรู้มาใช้ในทางที่ผิดก็อาจส่งผลเสียได้  ตัวอย่างที่ใกล้ตัวคือ การเอาเนื้อหมูมาผสมเนื้อวัว หรือเอาเนื้อหมูมาหมักเลือดวัวแล้ววางขายเป็นเนื้อวัวเพื่อให้มีกำไรสูงขึ้น

  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในทุเรียนกวน

    ทุเรียนกวน  ขนมหวานที่มีทั้งกลิ่นหอมหวานของทุเรียน  รสชาตหวาน มัน และเนื้อสัมผัสเนียนๆ เป็นที่ถูกปากและชื่นชอบของใครหลายคน  แหล่งผลิตทุเรียนกวนส่วนใหญ่ก็อยู่ทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย ที่เกษตรกรหรือผู้ผลิตนำผลผลิตทุเรียนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บไว้ขายและทานได้นานๆ  ทว่าการทำทุเรียนกวน ที่ต้องนำเนื้อทุเรียนมากวนกับส่วนผสมต่างๆ ด้วยความร้อนเป็นเวลานานก็อาจทำให้สีเหลืองนวลของทุเรียนกลายเป็นสีน้ำตาลคล้ำได้ ผู้ผลิตบางรายจึงเติมสารที่ชื่อซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลงไป

  • น้ำตาลกับเครื่องดื่มชูกำลัง

    น้ำตาล เป็นสารให้ความหวานที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้านการให้พลังงาน โดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคสที่มีหน้าที่สำคัญในการให้พลังงานแก่สมอง  ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเคมีในสมองทำให้รู้สึก สดชื่น และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น  จึงนิยมผสมน้ำตาลในเครื่องดื่ม น้ำผลไม้แทบทุกชนิด เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มอีกชนิดที่ได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่ใช้พลังงานมากๆ  เช่น นักกีฬา หรือผู้มีอาชีพที่ต้องใช้พลังในการทำงาน   เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมหลักๆ คือ คาเฟอีน ที่ทำหน้าที่ ให้ความรู้สึกสดชื่น  เพิ่มเรี่ยวแรงให้กับผู้ดื่ม และน้ำตาลที่ให้พลังงาน และความสดชื่นแก่สมอง 

  • ยาฆ่าแมลงตกค้างในผักสด

    เดือนนี้เป็นเดือนแห่งเทศกาลกินเจ ที่คนไทยเชื้อสายจีนต่างทานอาหารเจ ไม่ทานเนื้อสัตว์รวมถึงเครื่องปรุงที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์เพื่อไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต  บางท่านอาจถือศีล ร่วมด้วย อาหารเจ เป็นอาหารที่ปรุงจากพืชผัก ผลไม้เป็นหลัก  ช่วงเดือนตุลาคมนี้ผัก ผลไม้สดจึงเป็นที่ต้องการมากเป็นพิเศษ  สิ่งหนึ่งที่ขอเตือนท่านที่ทานอาหารเจ ในช่วงเทศกาลกินเจปีนี้ให้ระมัดระวังคือ  อันตรายจากยาฆ่าแมลงที่อาจตกค้างอยู่ในผักผลไม้สด

  • เชื้อก่อโรคในเห็ดเผาะบรรจุแบบสูญญากาศ

    ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน ผลผลิตการเกษตรตามฤดูกาลออกสู่ตลาดจำนวนมาก  หนึ่งในอาหารที่คนไทยท้องถิ่นนิยมคือ เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ ที่ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เห็ดถอบปรุงสุก บรรจุภาชนะปิดสนิทออกขายในท้องตลาดและขายออนไลน์มากขึ้น ทว่า ท่านที่ชื่นชอบคงต้องระวังสักนิด เพราะเห็ดเผาะปรุงสุกบรรจุกระป๋อง  ขวดหรือถุงสูญญากาศ เป็นอาหารปรุงสุกในภาชนะปิดสนิทที่ไม่มีรสเปรี้ยว มีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนเชื้อก่อโรคที่ชื่อ คลอสทริเดียม  โบทูลินัม

  • สารให้ความหอม (2AP) ในข้าวหอมมะลิ

    ข้าวหอมมะลิไทย ขึ้นชื่อว่าเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก เรื่องนี้ไม่ใช่โชคช่วยแต่ประการใด แต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากผลการประกวด ที่ข้าวหอมมะลิของไทยเป็นข้าวที่ดีที่สุดในโลก หรือ “World’s Best Rice Award 2020” จากการประกวดข้าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่จัดเป็นประจำทุกปีในงานประชุมข้าวโลก (World Rice Conference) 2020 ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดโดยผู้ค้าข้าวโลกในสหรัฐอเมริกา การประกวดนี้เค้ามีเกณฑ์การตัดสินตั้งแต่ รสชาติ ความเหนียวนุ่ม รูปร่างของข้าว ที่เหลือคือ คุณสมบัติพิเศษของข้าวหอมมะลิแต่ละประเทศซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าวหอมมะลิของไทยได้รางวัลข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก คือ กลิ่นที่หอม                                          

  • สารหนูในข้าวนำเข้า

    "ข้าว" นับเป็นพืชที่สำคัญของประเทศแถบเอเชีย เพราะเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย ประเทศที่ทานข้าวเป็นอาหารหลัก จะมีการปลูกข้าวสายพันธ์ของตนเอง ที่มีรูปร่างลักษณะ ความนุ่ม ความแข็ง มีกลิ่นหอมและรสชาตตามความชอบของคนในประเทศ  เช่น เมืองไทยจะนิยมปลูก และทานข้าวหอมมะลิ  ข้าวเหลืองประทิว ข้าวเสาไห้ กันแพร่หลาย  ปัจจุบันไทยมีการนำเข้า ข้าวพันธ์ต่างๆ จากต่างประเทศมาใช้ปรุง ประกอบอาหารหลากหลายเมนู

  • แอฟลาทอกซินในถั่วนำเข้า

    ช่วงนี้เป็นช่วงที่เราทุกคนต้องหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษทั้งเรื่องการออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอและการเลือกทานอาหารที่ดีต่อร่างกาย  ที่จะทำให้เรามีร่างกายแข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้  จึงไม่น่าแปลกที่ปัจจุบันจะเห็นอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของพืช  ถั่วและธัญพืชเป็นหลักมากขึ้น หรืออาหารจากพืช (Plant-based Food) เทรนด์ใหม่ของคนรักสุขภาพ ถั่วนำเข้า เป็นอาหารที่ผู้รักสุขภาพนิยมเลือกซื้อมาทานมากขึ้นเช่นกัน  ที่เห็นวางขายตามซูเปอร์มาเก็ตทั่วๆ ไป เช่น ถั่วลูกไก่ (ถั่วหัวช้าง)  ถั่วตาดำ  ถั่วเลนทิล

Page: 1 of 65 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT