• สารกันเสียในอาหารพร้อมรับประทาน

            อาหารพร้อมรับประทานหรือ Ready to Eat เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมสำหรับคนเมืองยุคนี้ เหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาปรุงอาหาร หรือเร่งรีบออกไปทำงานในช่วงเช้า หรือกลับบ้านในช่วงเย็น เพราะอาหารพร้อมรับประทาน เป็นอาหารที่ปรุงสำเร็จหรือปรุงสุกเรียบร้อยแล้วและแช่แข็งหรือแช่เย็นไว้ เมื่อเราไปซื้อคนขายก็จะนำไปเข้าไมโครเวฟเพื่ออุ่นให้ร้อนก่อนนำมาทาน ง่าย สะดวก และราคาไม่แพง ที่สำคัญมีเมนูให้เลือกหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ

  • เชื้อก่อโรคในซูชิ

            ซูชิ อาหารสัญชาติญี่ปุ่น มีที่มาจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นข้าวกับปลาชนิดต่างๆ หรืออาจมีหอย กุ้ง ไข่ หมึก สาหร่ายด้วย เพื่อให้หลากหลาย น่ารับประทานยิ่งขึ้น การทำซูชิเน้นการใช้มือในการประกอบและปั้นให้ได้รูปทรง อีกทั้งไม่ได้ผ่านความร้อนก่อนนำมาทาน ฉะนั้น หากผู้ปรุงประกอบ หรือพ่อค้า แม่ค้า ไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลให้ดีเพียงพอหรือไม่รักษาความสะอาดขณะประกอบและปั้นซูชิ อาจทำให้ซูชิมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนเชื้อก่อโรคจากมือผู้ประกอบอาหารได้ เช่น เชื้อ อี.โคไล เชื้อชนิดนี้พบในอุจจาระของคนและสัตว์เลือดอุ่น จึงใช้เป็นดัชนีบ่งชี้สุขลักษณะของอาหารและน้ำดื่ม

  • สารหอม 2AP ในข้าวหอมมะลิ

            ข้าวหอมมะลิไทย เป็นข้าวที่มีความนุ่ม เหนียว และกลิ่นหอม ทำให้เป็นที่นิยมทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะกลิ่นความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ช่วยทำให้อยากอาหาร และมีผลต่อราคา คุณภาพของข้าวไทยมีพันธุ์ข้าวหอมไม่ต่ำกว่า 50 พันธุ์ แต่พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ กลิ่นหอมเฉพาะตัวของข้าวหอมมะลินั้นมาจากสารหอมระเหยที่เรียกว่า 2-Acetyl-1-Pyrroline หรือ 2AP

  • สารพิษแอฟลาทอกซินในป๊อปคอร์น

            ป๊อปคอร์นหรือที่ชาวบ้านเรียกข้าวโพดคั่ว อาหารทานเล่นที่ทำจากเมล็ดข้าวโพด สมัยก่อนนิยมขายตามงานวัด ตลาดนัด แต่สมัยนี้เป็นที่นิยมของคนที่ชอบดูหนังตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ อีกทั้งมีรสชาติที่หลากหลายหาซื้อได้ง่ายทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ ทว่า สิ่งหนึ่งที่ขอเตือนผู้ที่ชอบป๊อปคอร์น คือ อันตรายจากสารพิษที่อาจแอบแฝงมากับป๊อปคอร์น อันตรายที่ว่าคือ สารพิษแอฟลาทอกซิน ซึ่งผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus เชื้อราสองชนิดนี้ส่วนใหญ่พบอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เติบโตได้ดีในผลิตผลเกษตรแทบทุกชนิด และมักพบปนเปื้อนในเมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวสาลี ถั่วลิสง มะพร้าว สมุนไพร เครื่องเทศและผลิตภัณฑ์

  • ยาฆ่าแมลงตกค้างในองุ่นแดงสด

            องุ่นแดง ผลไม้รสหวาน ฝาดเล็กน้อยที่เปลือก แต่ก็อร่อย ชนิดที่ทานกันจนเพลินหมดพวงกันแบบไม่รู้ตัวองุ่นแดง มีสารสำคัญที่ให้ประโยชน์หลายชนิด ได้แก่ สารเรสเวอราทรอล ช่วยป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ สารซาโปนิน ช่วยลดการดูดซึมคอเลสเทอรอลในกระแสเลือด ป้องกันโรคหัวใจ มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยเพิ่มระดับไขมันดี และมีสารโพลีฟีนอลช่วยลดระดับไขมันเลวและต้านอนุมูลอิสระ แถมยังมีสารแอนโทไซยานินที่ช่วยชะลอความแก่ ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอีกด้วย

  • สีผสมอาหารในไข่กุ้ง

           ปัจจุบันทุกย่านการค้า ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สตรีทฟู้ด ล้วนต้องมีร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านซูชิ แทบทุกร้านต้องมีเมนูที่มีไข่กุ้งเป็นส่วนประกอบ เช่น ซูชิหน้าไข่กุ้ง แคลิฟอร์เนียโรล ข้าวหน้าไข่กุ้ง ไข่กุ้งที่ขายในบ้านเรานั้นไม่ได้ทำมาจากไข่กุ้ง ทว่าทำมาจากไข่ของปลาบินที่มีสีส้มแดง หรือไข่ของปลาไข่ที่มีสีส้มซีด ผู้ผลิตหรือผู้ขายบางรายอาจย้อมสีอื่นๆ เพื่อให้ไข่กุ้งดึงดูดใจผู้บริโภค หากย้อมสีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากวาซาบิ สีดำจากหมึกของปลาหมึก ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ ขอให้ระวังอันตรายกันนิด แม้ตามกฎหมายของไทยจะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่หากใช้ปริมาณมากเกินไป หรือเกินที่กฎหมายกำหนดจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบดูดซึมอาหาร ทำลายระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมเป็นระยะเวลานาน อาจทำร้ายตับและไต

  • พาราควอตในน้ำตาลทราย

            น้ำตาลทราย เครื่องปรุงที่ให้รสหวานคู่ครัวไทยมานานทั้งอาหารคาวหวานต้องปรุงรสด้วยน้ำตาลไม่มากก็น้อย น้ำตาลทรายผลิตมาจากอ้อย ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรกรนิยมใช้สารพาราควอต ที่มีชื่อทางการค้าว่า “กรัมม็อกโซน” กำจัดวัชพืชในไร่อ้อย หากเกษตรกรใช้ในปริมาณมากๆ อาจทำให้สารพาราควอตตกค้างในอ้อย และอาจตกค้างอยู่ในน้ำตาลด้วยได้ รวมทั้งตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า พาราควอตเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากได้รับเข้าสู่ร่างกายทางปากจะทำให้เกิดอาการแสบร้อน เกิดแผลในหลอดลมและระบบทางเดินอาหาร ที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง พาราควอตยังเข้าสู่ร่างกายเกษตรกรที่ใช้จากการสัมผัสผิวหนังและสูดดม พาราควอตเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อม กว่า 50 ประเทศทั่วโลก จึงสั่งห้ามใช้สารชนิดนี้รวมถึงประเทศไทยของเราที่แบนการใช้พาราควอตมาตั้งแต่ปี 2564 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค เกษตรกร และปกป้องสิ่งแวดล้อม

  • แคดเมียมในหมึกแห้ง

            หมึกแห้ง หนึ่งในอาหารทะเลยอดนิยมของคนเอเชีย ซื้อหาง่ายตามซุปเปอร์มาร์เกตไปจนถึงร้านรวงในตลาด หมึกแห้งจัดเป็นการถนอมอาหารด้วยการตากแห้ง ก่อนจะนำไปประกอบอาหารทว่า อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยและหมึกมักพบโลหะหนักที่เป็นอันตราย เช่น แคดเมียมปนเปื้อน เมื่อเราทานอาหารที่มีแคดเมียมปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย แคดเมียมจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร แล้วลําเลียงไปตามกระแสเลือด สะสมตามอวัยวะต่างๆ รวมถึงตับและไต หากได้รับในปริมาณมากๆจะทำให้เกิดพิษเฉียบพลัน มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ถ่ายเหลว และอาจมีภาวะเลือดปนออกมา เนื่องจากเกิดการระคายเคืองและอักเสบของอวัยวะภายในระบบทางเดินอาหาร หากมีอาการรุนแรงอาจช็อก เนื่องจากขาดน้ำและไตวายเฉียบพลันได้ แต่หากร่างกายได้รับแคดเมียมปริมาณน้อยๆ เป็นระยะเวลานานจะเกิดการสะสมในกระดูก อาจเป็นโรคอิไตอิไตทำให้กระดูกเปราะ หักง่ายได้ 

  • สีผสมอาหารกับเยลลี่

            เยลลี่ ขนมที่ได้รับความนิยมทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ เยลลี่ทำจากน้ำผลไม้หรือน้ำผลไม้เข้มข้น เช่น สับปะรด กระเจี๊ยบ สตรอว์เบอร์รี มะนาว ส้ม มะม่วง นำมาผสมกับน้ำตาล สารทำให้เกิดเจล อาจผสมสี แต่งกลิ่น รส เพื่อดึงดูดความสนใจ สีผสมอาหารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้มี 2 ประเภท คือ สีธรรมชาติและสีสังเคราะห์ โดยกำหนดชนิดอาหารและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้แตกต่างกันไป แต่สีที่ผู้ผลิตนิยมใช้ คือ สีสังเคราะห์ เพราะมีราคาถูกกว่า ให้สีสดและสม่ำเสมอกว่า สะดวกต่อการใช้กับอาหาร ปกติสีสังเคราะห์ที่เราทานเข้าไปหากได้รับปริมาณไม่มาก ร่างกายจะกำจัดออกโดยการขับถ่าย แต่หากผู้ผลิตใช้ในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เพราะสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่มีโลหะหนักปะปนอยู่ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย มันจะไปเกาะตัวตามผนังกระเพาะ ทำให้เกิดปัญหากับระบบดูดซึมอาหาร ระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมมากๆเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อตับ ไตได้

  • โซเดียมในน้ำพริกกะปิ

            น้ำพริกกะปิเมนูคู่ครัวไทยมาช้านาน เพราะด้วยรสชาติที่จัดจ้านตามสไตล์อาหารไทย คนไทยจึงนิยมทานน้ำพริกกะปิคู่กับผักสด ผักลวก ปลาทูทอด ไข่ชะอมทอด พร้อมกับข้าวสวยร้อนๆ วัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำพริกกะปิ มีทั้งพริก กระเทียม หัวหอม กะปิ น้ำปลา น้ำมะนาว กุ้งแห้ง ฯลฯ ส่วนผสมข้างต้นแม้จะทำให้น้ำพริกกะปิมีรสชาติอร่อย แต่สิ่งที่ขอเตือนท่านที่ชื่นชอบน้ำพริกกะปิให้ระวัง คือโซเดียมที่มีในน้ำพริกกะปิ ที่มาจากวัตถุดิบบางชนิด เช่น กะปิ น้ำปลา โดยในกะปิ 100 กรัม พบมีโซเดียมสูงถึง 5,205 มิลลิกรัม

Page: 1 of 65 page(s)
PREV 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT