สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคในขนมกุยช่าย

ขนมกุยช่าย อาหารว่างหรืออาหารทานเล่นที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ขนมกุยช่าย มีใบกุยช่ายที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์และเป็นพระเอก นำมาผัดกับเครื่องปรุงให้มีรสชาติ นำมาห่อด้วยแป้งให้ได้รูป แล้วนำมานึ่งให้แป้งสุกก็สามารถทานพร้อมน้ำจิ้มแสนอร่อยได้ทันที หรือในรายที่ไม่อยากได้กลิ่นของกุยช่ายมากนักก็นำมาทอดให้เกรียมๆ  กรอบนอกนุ่มในแล้วแต่ความชอบของแต่ละคน อย่างที่บอกขนมกุยช่ายใช้ใบกุยช่ายที่ปลูกในดินเป็นหลัก  จึงอาจมีเชื้อก่อโรคที่ปะปนอยู่ในดิน

 

เช่น อี.โคไล ปนเปื้อนอยู่ในกุยช่ายด้วยได้อี.โคไล เป็นเชื้อประจำถิ่นที่พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป มักตรวจพบในอุจจาระของคนและสัตว์ปริมาณมากหากผู้ขายนำใบกุยช่ายมาปรุงอาหาร โดยไม่ล้างทำความสะอาดให้ดีเพียงพอหรือไม่ล้างมือก่อนหยิบจับกุยช่ายหลังนึ่งหรือทอดสุกแล้ว โอกาสที่ผู้บริโภคอย่างเราจะเกิดการเจ็บป่วยจากโรคอุจจาระร่วงก็มีสูงตามไปด้วย

 

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มตัวอย่างขนมกุยช่ายจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ย่านการค้าเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ อี. โคไล ผลการวิเคราะห์พบว่ามีกุยช่าย 4 ตัวอย่าง ที่พบเชื้อ อี. โคไล ปนเปื้อน และปนเปื้อนในปริมาณที่เกินเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร(ฉบับที่ 2) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กำหนดให้พบ อี. โคไล ปนเปื้อน ในอาหารปรุงสุกทั่วไปได้ไม่เกิน 3 MPN/ กรัม วิธีป้องกันอันตรายจากเชื้อ อี. โคไล ง่ายๆ คือ ต้องช่างสังเกตว่าคนขายและร้านค้าที่จะซื้ออาหารนั้น รักษาสุขลักษณะและความสะอาดดีเพียงพอหรือไม่ถ้าไม่ก็ไม่ควรซื้อทาน ที่สำคัญควรอุ่นอาหารให้ร้อนหรือปรุงให้สุกก่อนทาน และทานขณะร้อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย สบายท้อง//

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins