งานวิจัยประเมินความเสี่ยง :
  • สรุปปัญหาสภาพความเสียงในห่วงโซ่อาหารที่มีต่อผู้บริโภคชาวไทย
    อันตรายที่สำคัญและก่อให้เกิดความเสี่ยงในห่วงโซ่อาหารหลัก 4 กลุ่มของประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ กลุ่มสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ กลุ่มผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ กลุ่มธัญพืช ถั่วเมล็ดและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ จุลินทรีย์ชนิดก่อโรคทางเดินอาหาร สารปฏิชีวนะ ตกค้าง สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซิน และสารเคมีอื่นๆ ซึ่ง สรุปเป็นภาพรวมได้ดังนี้
     
    จุลินทรีย์ที่ก่อโรคทางเดินอาหาร
    เป็นอันตรายชนิดสำคัญที่พบในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อ Salmonella spp. และ Vibrio Parahaemolyticus โดยมีจุดเสี่ยงในขั้นตอนการเพาะเลี้ยงและขั้นตอนการแปรรูป สำหรับชนิดที่พบในปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ได้แก่ เชื้อ Salmonella spp., Pathogenic E. coil และ Campylobacter โดยมีจุดเสี่ยงในขั้นตอนการเลี่ยงและการแปรรูป
     
    สารปฏิชีวนะตกค้าง
    เป็นอันตรายชนิดสำคัญที่พบในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ และในปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ซึ่งชนิดสารที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ Nitrofurans และ Chloramphenicol ส่วนสารปฏิชีวนะตกค้างที่ควรตรวจติดตามได้แก่ Oxytetracycline, Aminoglycosides และ Quinolone
     
    สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
    เป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มสินค้าผักผลไม้และผลิตภัณฑ์ ซึ่งชนิดของสารเคมีป้องกันและ กำจัดศัตรูพืชที่พบตกค้างในผักส่วนใหญ่ ได้แก่ Carbofuran, Carbosulfan, Cypermethrin และ Mathamidophos โดยมีจุดเสี่ยงในขั้นตอนการเพาะปลูก
     
    สารพิษอะฟลาท็อกซิน
    เป็นอันตรายชนิดสำคัญที่พบในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ โดยมีจุดเสี่ยงในขั้นตอนการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้นยังพบปัญหาการใช้สารประกอบซัลไฟล์เกินมาตรฐานในสินค้าลำไย ผัก และผลไม้ดอง แช่อิ่ม และอบแห้ง และอาหารเส้นจากแป้งข้าว การใช้สารห้ามใช้บอแรกซ์ในเนื้อสัตว์บดและผลิตภัณฑ์ เช่น ลูกชิ้นปลา/ ไก่/ หมู ผักและผลไม้ดอง โดยมีจุดเสี่ยงใน
    ขั้นตอนกระบวนการแปรรูป
     
    ภาพประกอบ : อินเตอร์เนต
จำนวนครั้งที่อ่าน 3348 กลับสู่หน้าหลัก