TH / EN
WINDOW OF THAI FOOD

โครงการ Window of Thai Food เป็นโครงการที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทยผ่าน 3 คุณค่าหลัก คือ การเป็นช่องทางในการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น (Window of Opportunities) การเป็นแหล่งรวมที่ครบวงจรในการสร้างสรรค์พัฒนาและต่อยอดทางธุรกิจให้กับผลิตภัณฑ์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารไทย (Incubator & Facilitator) และการเป็นช่องทางในการสร้างการรับรู้และยอมรับของผู้บริโภคในคุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหารของไทยในหลากหลายมิติ (Brand and Long-Term Loyalty) ทั้งในเชิงวัฒนธรรม ความมีคุณภาพ นวัตกรรมและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ความเป็นเลิศ ทั้งในด้านรสชาติ คุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงการผลิตที่มีรากฐานมากจากวิธีการดำรงชีวิตที่สมดุลและยั่งยืน

การดำเนินโครงการ Window of Thai Food ในขั้นนี้เป็นการออกแบบและจำลองพื้นที่ส่วนต่างๆที่แสดงถึงองค์ประกอบต่างๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การดำเนินการเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันของรัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP)

Business Intelligence & Matching Center
  • ศูนย์ให้คำปรึกษาอุตสาหกรรมอาหารครบวงจร อาทิ กฎระเบียบของไทยและประเทศคู่ค้าเพื่อการส่งออก การอำนวยความสะดวกในการขึ้นทะเบียนอาหาร สถิติด้านผลผลิต นำเข้า ส่งออก มูลค่าตลาด รายชื่อธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ
  • ศูนย์ข้อมูลเชิงรุกเพื่อการประชุมระบบ War Room
  • ศูนย์จับคู่ธุรกิจ ติดต่อลงทุนเจรจาซื้อขายเบ็ดเสร็จในจุดเดียว
  • การเชื่อมโยงบริการด้านการเงินการธนาคารที่เกี่ยวข้อง
พื้นที่ Food Innovation Service Center
  • ให้บริการข้อมูลด้านเครื่องจักร นวัตกรรม เทคโนโลยีพร้อมใช้ของไทย จากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงเกษตรฯ สถาบันการศึกษา (เน้นใช้ IT จัดแสดง / มีของจริงแสดงบางส่วน เพื่อไม่เปลืองพื้นที่)
  • พื้นที่นำเสนอเทคโนโลยีใหม่เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 และมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย
  • ชุมชนของการพัฒนาและออกแบบ ที่เน้นพัฒนาในเรื่องคน ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และปัจจัยสนับสนุนต่างๆ โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม แนวคิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจดิจิทัล
พื้นที่สำหรับ Market Display “Made in Thailand”

พื้นที่จัดแสดงสินค้าอาหารของไทยที่ผ่านการพัฒนาระบบการผลิตเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากลทั้งมาตรฐานด้าน ความปลอดภัยและด้านสิ่งแวดล้อม และมีกำลังผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อสร้างพันธมิตรธุรกิจระหว่าง SMEs, OTOP กับ Buyer / Trader / Consumer ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมสามารถจับจ่ายซื้อได้จริง (โดยนำแนวคิดซูเปอร์มาร์เก็ตอัจฉริยะเข้ามาใช้) โดยนำเสนอในหมวดหมู่สินค้าอาหารทั่วไป, Halal Food, Health Food, Functional Food และอื่นๆ บนชั้นวางผลิตภัณฑ์ Interactive ที่สัมผัสผลิตภัณฑ์จะมีจอปรากฏรายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ อาทิ ราคา ส่วนประกอบ ผู้ผลิต กำลังการผลิต Water Foot Print, Carbon Foot Print ข้อมูลเชิงโภชนาการ ประโยชน์เชิงสุขภาพ Phytochemical และสรรพคุณทางยา ของเครื่องเทศสมุนไพร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคและนักลงทุน

พื้นที่ส่วนที่ 4 พื้นที่สำหรับ ช้อป ปรุง ชิม
  • ร้านอาหารและครัวที่ให้บริการในพื้นที่ต้นแบบที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน GMP Mass Catering และใช้แนวการบริหารจัดการธุรกิจบริการอาหารที่ดี คัดสรรวัตถุดิบอาหารชั้นเลิศของไทย มาปรุงในเมนูที่หลากหลายทั้งตำรับไทยแท้ดั้งเดิม (Authentic) และเมนูยอดนิยมของทั่วโลก (Modern Recipe) ให้เลือกรับประทาน
  • บริการรับปรุงสินค้าที่นำมาจาก Market display มาปรุงเพื่อรับประทานในร้าน เพื่อพิจารณาตัดสินใจสั่งซื้อทางธุรกิจ และพื้นที่นี้ยังเป็น Model การจัดการด้านธุรกิจบริการอาหารในการให้ข้อมูลผู้สนใจเปิดร้านอาหาร ที่สามารถต่อยอดธุรกิจได้
พื้นที่ Show Case: ปรุง ชิมรส ตัดสินใจ
  • พื้นที่กิจกรรม Launch New Product / Market Test โดยสาธิตการปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นอาหารประเภทต่างๆ พร้อมให้ทดลองชิม และแนะนำข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Food Quality, Nutrition, Phytochemical, The Antioxidant Capacity etc.) เพื่อการตัดสินใจสั่งซื้อของ Buyer หรือทดสอบตลาดในจุดเดียว
  • พื้นที่ให้บริการจัดแสดงเปิดตัวสินค้าของบริษัทผลิตอาหารทั้งในและต่างประเทศที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
  • พื้นที่ให้บริการในด้านการเรียนการสอน การทำอาหารไทย ทั้งอาหารไทยดั้งเดิม และอาหารไทยประยุกต์ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพผู้ปรุงอาหารไทยได้ทั้งในและต่างประเทศ
พื้นที่ “Culinary & Gastronomy Center”
  • เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ศาสตร์และศิลป์แห่งการปรุงอาหาร ตั้งแต่การเลือก การเตรียม การเสิร์ฟ การถนอมอาหาร ความสามารถในการจัดงบประมาณ นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อพิจารณาอื่นๆ เช่น ความงดงาม บรรยากาศที่จูงใจ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วย ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาสูตรอาหารอนาคตที่เชื่อมโยงความรู้ด้าน gastronomy + science ที่สามารถตรวจสอบคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติ ก่อนส่งต่อให้ทีม R&D นำไปพัฒนาต่อเป็นอาหารแปรรูประดับอุตสาหกรรม
  • เป็นแหล่งให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับแต่ละวัยและไลฟสไตล์