• น้ำตาลในเฉาก๊วยนมสด

     เฉาก๊วย ของหวานที่คนไทยนิยมทานโดยเฉพาะในหน้าร้อน ทานแล้วชื่นใจ แก้กระหาย คลายร้อน เรามักทานเฉาก๊วยกับน้ำแข็งไสและโรยน้ำตาลทรายแดง หรือเป็นท็อปปิ้งในไอศกรีม หรือทำเป็นเครื่องดื่มเฉาก๊วยนมสด ปกติหญ้าเฉาก๊วยมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดน้ำตาลในเลือด ลดอาการไข้ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ ทว่า การนำเฉาก๊วยมาทำเป็นเมนูของหวาน หากใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสมปริมาณมากๆ ก็อาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวได้

  • วิบริโอ คอเลอเร่ ในหอยนางรมสด

     หอยนางรม อาหารทะเลที่หากทานสดๆจะมีรสหวานอ่อนๆ ไม่มีกลิ่นคาว ทานแล้วสดชื่นเป็นของขึ้นชื่อของภาคใต้โดยเฉพาะ จ.สุราษฎร์ธานี คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ออส่วน หอยนางรมทอดกรอบ ไข่เจียวหอยนางรม ต้มยำ ยำหอยนางรมสด แต่ที่นิยมที่สุดเห็นจะเป็นการทานหอยนางรมสดๆคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำพริกเผา ยอดกระถินและหอมเจียว เพราะเป็นเมนูที่อร่อย ทว่า การทานหอยนางรมสดๆ อาจต้องระวัง หากก่อนทานไม่ล้างทำความสะอาดให้ดีเสียก่อน เพราะอาจมีเชื้อก่อโรคที่ชื่อ วิบริโอ คอเลอเร่ ปนเปื้อนอยู่ด้วยได้

  • สไบนางกับฟอร์มาลดีไฮด์

     ผ้าขี้ริ้วหรือสไบนาง คือ ส่วนกระเพาะวัว วัวเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะถึง 4 กระเพาะ กระเพาะห้องแรกเรียกว่า ผ้าขี้ริ้ว เพราะมีผนังยื่นออกมาเพื่อทำหน้าที่หมักอาหารด้วยจุลินทรีย์ กระเพาะส่วน 2 เรียกว่ากระเพาะรังผึ้ง ส่วนที่ 3 เรียกว่ากระเพาะสามสิบกลีบ และส่วนที่ 4 เป็นกระเพาะแท้เหมือนกับของคน ซึ่งนำมาใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอาหารอีสานทั้งลาบ ก้อย ยำ จิ้มจุ่ม และก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

  • ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง กับเชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส

     ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ของหวานแบบไทยๆ ที่มีกลิ่นหอม รสชาติหวาน อร่อย มีส่วนประกอบหลัก คือ ข้าวเหนียวมูน โรยหน้าด้วยปลาเค็มแห้ง หอมเจียว เกลือ และน้ำตาลทราย ทานได้ทั้งเป็นของว่างและทานเพื่อให้อิ่มท้อง เพราะได้คาร์โบไฮเดรตจากข้าวเหนียว และโปรตีนจากเนื้อปลา ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้งแบบโบราณมักห่อด้วยใบตองกลัดไม้ ปัจจุบันอาจเห็นบรรจุอยู่ในกล่องพลาสติกเพื่อสะดวกในการจัดเก็บและขาย แต่หากพ่อค้าแม่ค้าไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับส่วนประกอบต่างๆ เช่น ข้าวเหนียวมูน เพื่อทำการห่อกับใบตอง หรือบรรจุลงกล่อง ก็อาจทำให้มีเชื้อก่อโรคที่ชื่อ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ปนเปื้อน

  • เหล้าเถื่อน ยาดองเถื่อน อันตราย

     วันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก คลัสเตอร์ยาดอง หรือคลัสเตอร์ผู้ป่วยจากการดื่มยาดองเถื่อน เหล้าเถื่อนในย่านเขตคลองสามวา มีนบุรี หนองจอก กรุงเทพมหานคร ที่ว่าเถื่อนเพราะนอกจากจะผลิตและขายยาดองโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว ยังใช้เหล้าขาวเถื่อนที่มีเมทานอลเป็นส่วนผสมด้วย จะเพราะความไม่รู้หรือเพื่อลดต้นทุนก็ตาม แต่ยาดองเถื่อน เหล้าเถื่อนที่มีเมทานอลผสมนั้น ส่งผลให้ผู้ดื่มป่วยจนต้องนำส่งโรงพยาบาลกว่า 35 ราย เพราะเกิดอาการเป็นพิษจากเมทานอล คือ เลือดเป็นกรดอย่างรุนแรง หายใจเหนื่อย มีอาการตาพร่ามัว ชัก หมดสติ และมีภาวะไตวาย มีผู้ป่วยที่ต้องรักษาโดยใส่ท่อช่วยหายใจ 16 ราย ฟอกไต 23 ราย ปั๊มหัวใจ 6 ราย และตายแล้วถึง 4 ราย (ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2567)

  • พาราควอตกับปูนาดองเกลือ

     ปูนา วัตถุดิบตามท้องนาที่ชาวบ้านนำมาดองกับดอกเกลือหรือน้ำเกลือ ให้สามารถเก็บไว้ใช้ประกอบอาหารได้นานๆ อาหารที่นิยมนำปูนาดองเกลือมาเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ส้มตำ ยำมะม่วง น้ำพริกมันปูนา ซอสมันปูนา ปูนาสามรส ปูนานึ่งสมุนไพร ขนมจีนน้ำยามันปูนา หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงพื้นบ้านของภาคเหนือ เช่น น้ำปูหรือน้ำปู๋ ที่นิยมปรุงในยำหน่อไม้ แกงหน่อไม้ ส้มตำ และตำส้มโอ เพื่อทำให้มีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น

  • ถั่วลิสงคั่วบดกับเชื้อ แบซิลลัส ซีเรียส

     ถั่วลิสง คนไทยมักนำมาต้ม ทอด อบ คั่ว บด เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหารหรือทานเล่น แต่ที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร คือ ถั่วลิสงคั่วบด ที่ใช้กับเมนูผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ก๋วยเตี๋ยวแห้ง ขนมจีนน้ำพริก หรือเป็นส่วนประกอบน้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มชาบูหม่าล่า น้ำจิ้มงาขาว น้ำจิ้มซีฟู้ด น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ น้ำจิ้มเปาะเปี๊ยะ น้ำจิ้มเต้าหู้ทอด และน้ำจิ้มปลาหมึกบด

  • น้ำตาลกับข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ

            ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ ช่วงนี้เป็นฤดูทุเรียนของไทย เรามักเห็นพ่อค้าแม่ค้าวางขายทุเรียนสีเหลืองสวยน่าทาน ด้วยรสชาติหวานมัน กลิ่นหอมชวนทาน ทำให้มีคนไทยไม่น้อยที่ชื่นชอบการทานทุเรียน รวมถึงข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ ทุเรียนทอด ทุเรียนกวน ข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิ ขนมหวานแบบไทยๆ ที่นำเนื้อทุเรียนสุกมาฉีก แล้วเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บ น้ำกะทิและเกลือป่น นำมาราดบนข้าวเหนียมมูลก่อนทาน นับเป็นเมนูที่ถูกใจสายหวานและสายทุเรียน ทว่า ในความอร่อย หอมหวานนั้นหากทานในปริมาณที่พอดี ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หากทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวเพราะข้าวเหนียวทุเรียนน้ำกะทิเป็นเมนูที่มีความหวานสูง เพราะมีน้ำตาลปริมาณมาก แม้น้ำตาลจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากได้รับปริมาณมากเกินไปและสะสมเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • เชื้อก่อโรคกับผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมู

            ผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมูกับข้าวพื้นๆที่ร้านขายข้าวแกงต้องมีติดไว้แทบทุกร้าน หรือเป็นเมนูแนะนำอยู่ในร้านอาหารตามสั่ง ผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมูมีส่วนผสมหลักคือ พริกแกงเผ็ด ถั่วฝักยาว เนื้อหมูสามชั้น เนื้อแดงหรือสันคอ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมันหอย น้ำตาล ผงปรุงรส อาจใส่ใบมะกรูดลงไปผัดด้วย ก็จะได้ผัดพริกแกงถั่วฝักยาวหมูที่มีสีสันน่าทาน หอมอร่อย ทว่า หากร้านไหนซื้อพริกแกงเผ็ดปรุงสำเร็จมาจากตลาด โดยไม่ได้ดูว่าพริกแกงเผ็ดนั้นทำสดใหม่ หรือเก็บไว้นานแล้ว ร้านที่ผลิตและวางขายมีสุขลักษณะการผลิตที่ดีหรือไม่ ก็อาจทำให้ได้พริกแกงเผ็ดที่มีของแถม เช่น เชื้อก่อโรค

  • ไนโตรซามีน...สารก่อมะเร็งในอาหาร

            ไนโตรซามีน หรือเอ็น-ไนโตรซามีน (N-nitrosamines : N-NAs) หลายคนคงคุ้นกับชื่อนี้มาบ้าง เพราะเป็นสารก่อมะเร็งที่พบได้ในอาหาร ไนโตรซามีน หรือเอ็น-ไนโตรซามีน เป็นกลุ่มของสารประกอบซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่มีอยู่ 10 ชนิดที่พบได้ในอาหารและเป็นสารก่อมะเร็ง ก่อการกลายพันธุ์และทำให้เกิดเนื้องอกในตับของสัตว์ทดลองคือ สาร NDMA, NMEA, NDEA, NDPA, NDBA, NMA, NSAR, NMOR, NPIP, NPYR และในจำนวนนี้มีอยู่ 2 ชนิดคือ NDMA และ NDEA ที่องค์กรวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) จัดให้เป็นสารที่น่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ (กลุ่ม 2A) อาหารชนิดที่มีโอกาสพบไนโตรซามีนได้นั้น ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีสารตั้งต้นสำคัญคือ สารไนเตรต หรือเอมีน ที่เมื่อรวมตัวกันจะก่อเป็นสารประกอบไนโตรซามีนได้

Page: 1 of 68 page(s)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 NEXT