ข่าวประชาสัมพันธ์สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร

สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
สถาบันอาหาร – สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม – สถาบันสิ่งทอ จัดประชุมสร้างความร่วมมือเรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชงสู่เชิงพาณิชย์” ภายใต้โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชงเพื่อตอบสนองเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)

สถาบันอาหาร ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสถาบันสิ่งทอ จัดประชุมสร้างความร่วมมือเรื่อง “การพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกัญชงสู่เชิงพาณิชย์” ภายใต้โครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชงเพื่อตอบสนองเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) โดยงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปกัญชงจากผู้เชี่ยวชาญไปสู่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน สามารถยกระดับเทคโนโลยีในระดับกลางน้ำ เช่น การสกัดสารจากช่อดอกและใบกัญชง การแปรรูปเปลือกและแกนในลำต้น เพื่อให้ได้วัตถุดิบเข้าสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำในสาขาต่าง ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องสำอาง อาหาร อาหารสัตว์ สิ่งทอ ก่อสร้าง สิ่งแวดล้อมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในอุตสาหกรรมรวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจในการต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์   

 

วันนี้ (22 ก.พ. 64) นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร นายธนนนทน์ พรายจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ พร้อมด้วยนางสาวพะเยาว์ คำมุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมและปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปพืชกัญชงเพื่อตอบสนองเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ของกระทรวงอุตสาหกรรม” และบรรยายพิเศษเรื่อง “เทคโนโลยีการสกัด การแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากกัญชงในประเทศแคนาดา” โดย Raimar löbenberg, PhD ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนาดา และรองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.กรกนก อิงคนินันท์ จากสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านกัญชาและกัญชง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร “สาระสำคัญขอกฏกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 และแนวทางการยื่นคำขอรับอนุญาตฯ” โดย ภญ. ศุจินาถ จันทรกูล กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ภายในงานดังกล่าวยังมีการออกบูธแสดงผลงานจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเมล็ดกัญชง อาทิ คุ้กกี้เมล็ดกัญชง ขนมปังน้ำมันเมล็ดกัญชง เครื่องสำอางจากสารสกัดจากใบและเมล็ดกัญชง เส้นใยกัญชง ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นจำนวนมาก 

 

ณ ห้องประชุมภาณุรังษี โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins