
รายละเอียดที่ท่านเลือก | |
วันที่ : | 30 มี.ค. 66 |
---|---|
ถึงวันที่ : | 31 มี.ค. 66 |
สถานที่ : | ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 3 อาคาร Thai Food Heritage สถาบันอาหาร กรุงเทพฯ |
ราคาสมาชิก : | 5,000 |
ราคาบุคคลทั่วไป : | 5,300 |
จำนวนวัน : | 2 วัน |
หลักการและเหตุผล
การตรวจสอบย้อนกลับ คือ ความสามารถในการสอบและติดตาม แหล่งที่มาของวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ หรือส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีจุดประสงค์สำหรับการบริโภค หรือใช้ในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการผลิต กระบวนการ และการกระจาย จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (Recall) เป็นกระบวนการในการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยออกจาก ห่วงโซ่อุปทานรวมถึงที่ส่งถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การสอบกลับได้ (Traceability) คือ ความสามารถในการสอบและติดตาม อาหาร อาหารสัตว์ ผลิตอาหารสัตว์ หรือส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีจุดประสงค์สำหรับการบริโภค ซึ่งใช้ในทุกขั้นตอน ไม่ว่าผลิต กระบวนการ และการกระจาย การสอบกลับได้(Traceability) นั้นเป็นเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยง ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจอาหารและผู้ที่มีอำนาจในการดำเนินการ ให้สามารถทำการเพิกถอนหรือเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ที่ซึ่งถูกชี้บ่งว่ามีความไม่ปลอดภัยได้ หลายประเทศได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายในการตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของอาหารหรือผลิตภัณฑ์ ในทุกๆ กระบวนการในโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ กฎหมายที่มีผลบังคับใช้แล้ว คือ EU General Food Law Regulation 178/2002 ครอบคลุมทั้ง 27 ประเทศ ที่กำหนดความสามารถของการตรวจสอบย้อนกลับไปหนึ่งขั้น ทั้งขึ้นและลงในโซ่อุปทานอาหาร (One Step Up and One Step Down) กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ปี 2544 ประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมาได้เริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งระบบคือ ข้อมูลมาตรฐานระบบการตรวจสอบย้อนกลับสากล (The global GS1 Traceability Standard) ที่กำหนดโดย GS1 (เดิมคือ EAN International, www.ean-int.org) ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติที่มีพันธกิจร่วมกับองค์กร Uniform Code Council (UCC), USA โดยมีบทบาทเป็นผู้กำหนดและผลักดันให้ระบบมาตรฐาน EAN.UCC เป็นมาตรฐานสากล ตลอดจนเป็นผู้นำในการร่วมวางมาตรฐานของการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมต่างๆ (multi-industry-standards) ปัจจุบันระบบ EAN.UCC มีบริษัทผู้ใช้อย่างแพร่หลายมากกว่า 1,000,000 บริษัท ในกลุ่มประเทศสมาชิก 103 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยมีสถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ GS1 Thailand (www.gs1thailand.org)เป็นผู้ดูแลในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมทุกท่าน สามารถประยุกต์ใช้ กฎหมายของการสอบกลับ การเรียกคืน การถอนคืนผลิตภัณฑ์ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปดำเนินการปรับปรุงเอกสารต่าง ๆ เช่น ระเบียบการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงานหรือเอกสารสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบกลับ การเรียกคืน การถอนคืนผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องตามมาตรฐานด้านระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร
วิทยากร
อ.วรรณฤดี เดชพรหม ที่ปรึกษาและวิทยากรประจำสถาบันอาหาร
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
เจ้าหน้าที่, ผู้ควบคุมหรือผู้บริหารห้องปฏิบัติการทั่วไป และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลาในการอบรม
วันพฤหัสบดีที่ 30 - วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 (2 วัน)
เวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่จัดฝึกอบรม
ณ ห้องปิ่นเกล้า ชั้น 3 อาคาร Thai Food Heritage สถาบันอาหาร กรุงเทพฯ
กำหนดการ
วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566
08.30 – 09.00 น. |
ลงทะเบียน พร้อมรับเอกสาร |
09.00 – 10.30 น. |
- ความหมายของระบบการตรวจย้อนกลับและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ - ความสำคัญของระบบการตรวจย้อนกลับและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ - ความแตกต่างระหว่างการถอดถอนและการเรียกคืน |
10.30 – 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 – 12.00 น. |
โปรแกรมการเรียกคืนและถอดถอนผลิตภัณฑ์ |
12.00 - 13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.30 น. |
กิจกรรมกลุ่ม - โปรแกรมการเรียกคืนผลิตภัณฑ์และการสอบย้อนกลับ |
14.30 – 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14.45 – 16.00 น. |
ขั้นตอนการตรวจย้อนกลับและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ |
16.00 - 16.30 น. |
สรุป และตอบข้อซักถาม |
วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566
09.00 – 10.30 น. |
GS1 Global Traceability Standard |
10.30 – 10.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
10.45 – 12.00 น. |
กฎหมาย ข้อบังคับ มาตรฐานระบบคุณภาพและความปลอดภัย ที่เกี่ยวกับการตรวจย้อนกลับและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ |
12.00 - 13.00 น. |
พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.30 น. |
กิจกรรมกลุ่ม - การทดสอบการสอบย้อนกลับ / Quantity / mass Balance |
14.30 – 14.45 น. |
พักรับประทานอาหารว่าง |
14.45 – 16.00 น. |
การประยุกต์ใช้การตรวจย้อนกลับและการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ ในอุตสาหกรรมอาหาร |
16.00 – 16.30 น. |
ตอบข้อซักถามและปิดการอบรม |
หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ค่าลงทะเบียน (ยังไม่รวม VAT 7%) (ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%)
สมาชิก NFI 5,000 บาท
บุคคลทั่วไป 5,300 บาท
(ราคารวม VAT 7% สมาชิก NFI 5,350 บาท / บุคคลทั่วไป 5,671 บาท)
วิธีการชำระเงิน
![]() |
โอนเงินเข้าบัญชี ธ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาพระปิ่นเกล้า เลขที่ 031-1-52938-0 ชื่อบัญชี อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ |
ขั้นตอนการลงทะเบียน
1. หลังจากลงทะเบียนแล้ว ทาง จนท. จะส่ง E-mail ยืนยันการเข้าร่วมอบรมไปยังท่านก่อนการอบรม 1-2 อาทิตย์
2. การชำระเงิน ท่านสามารถชำระเงินพร้อมส่งหลักฐานการชำระเงิน มายังฝ่ายฝึกอบรมฯ ได้ที่ training@nfi.or.th หรือ Line@ : https://bit.ly/393y0Xe
3. หลังจากท่านชำระเงินแล้ว
>> ท่านสามารถลงทะเบียนตามวัน, เวลา และสถานที่ ที่กำหนดได้นะคะ โดยเริ่มลงทะเบียน 08.30-09.00 น. พร้อมรับใบเสร็จรับเงิน
สนใจติดต่อ
คุณธราธิป แววศรี
ฝ่ายฝึกอบรมและที่ปรึกษา สถาบันอาหาร
โทร. 0-2422-8688 ต่อ 2207
E-mail : training@nfi.or.th
Facebook : www.facebook.com/trainingNFI
Line@ : https://bit.ly/393y0Xe