สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
น้ำตาล… กับเครื่องดื่มสำเร็จรูป

น้ำตาล… กับเครื่องดื่มสำเร็จรูป

น้ำตาล  นับเป็นอาหารที่ให้พลังงานที่สำคัญต่อร่างกาย  หากเราได้รับน้ำตาลเพียงเล็กน้อยถือว่าปกติ

เพราะนอกจากจะให้พลังงานแล้ว น้ำตาลยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง

แต่การได้รับน้ำตาลจากการทานอาหารมากเกินไม่ใช่เรื่องดี

ในชีวิตประจำวันของเรานั้นใน 1 วัน  จะได้รับน้ำตาลจากทั้งอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ นับไม่ถ้วน

ทั้งชา กาแฟ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว อาหารคาวและขนมหวานชนิดต่างๆ  แทบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

โดยเฉพาะเครื่องดื่มสำเร็จรูปบรรจุขวดและกล่องแช่เย็น ที่วางขายตามท้องตลาด ซูปเปอมาร์เก็ตต่างๆ

ที่หลายท่านอาจไม่รู้ว่ามีการเติมน้ำตาลลงไปในปริมาณที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดต่างๆ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ

จากห้างสรรพสินค้าและซูปเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด

ผลการวิเคราะห์แสดงดังตารางด้านล่าง เห็นอย่างนี้แล้วขอเตือนว่าเลือกดื่มกันให้พอเหมาะ พอควร

เพราะผลวิเคราะห์บอกเราได้อย่างชัดเจนว่า แค่ดื่มเครื่องดื่มสำเร็จรูปเพียง `1 ขวด

เราก็จะได้รับน้ำตาลไปไม่ต่ำกว่า  3 ช้อนชา นี่ยังไม่รวมน้ำตาลที่ได้รับจากอาหารอื่นๆ ที่ทานเข้าไปอีก

แม้ปัจจุบันไทยยัง ไม่มีการกำหนดปริมาณ “น้ำตาล” ที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน

แต่กรมอนามัย แนะนำว่าน้ำตาลเป็นอาหารที่อยู่ในประเภท ควรบริโภคแต่น้อยเท่าที่จำเป็น

ไม่ควรเกิน 4, 6 และ 8 ช้อนชา ในคนที่ต้องการพลังงานวันละ 1600, 2000 และ 2400 กิโลแคลอรี่

หากไม่เลือกดื่มกันให้พอเหมาะ พอควรแล้ว เราก็จะได้รับของแถม เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และ เบาหวานชนิดที่ 2

ซึ่งเป็นผลพวงจากการบริโภคน้ำตาลเยอะเกินความจำเป็นกันไปเต็มๆ 

ผลวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในเครื่องดื่มสำเร็จรูป

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

ปริมาณน้ำตาลทั้งหมด

(กรัม/ 1 ขวดหรือกล่อง)

(ช้อนชา/ 1 ขวดหรือกล่อง)

เครื่องดื่มบำรุงกำลัง ยี่ห้อ 1 (150 มิลลิลิตร/ ขวด)

11.18

3

เครื่องดื่มว่านหางจระเข้ กลิ่นองุ่น ยี่ห้อ 2

(365 มิลลิลิตร/ ขวด)

42.05

11

เครื่องดื่มน้ำจับเลี้ยง ยี่ห้อ 3 (400 มิลลิลิตร/ ขวด)

83.08

21

ชามะนาวสำเร็จรูป ยี่ห้อ 4 (445 มิลลิลิตร/ ขวด)

53.40

13

ชานมพร้อมดื่ม ยี่ห้อ 5 (250 มิลลิลิตร/ กล่อง)

26.08

7

 

วันที่วิเคราะห์ 18 - 20 ต.ค. 2560   วิธีวิเคราะห์ In-house method T997 based on AOAC(2012) 982.14  

ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย  สถาบันอาหาร   กระทรวงอุตสาหกรรม 

โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins