สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
อะฟลาทอกซินในลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ

อะฟลาทอกซินในลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ

          “ลูกเดือย” ธัญพืชที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ทั้งวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และกรดอะมิโนหลายชนิด จึงเป็นที่ต้องการของกลุ่มคนรักสุขภาพ นำลูกเดือยมาแปรรูปเป็นอาหารหลากหลายชนิด ทั้งลูกเดือยอบกรอบ ลูกเดือยปรุงรสอบแห้งที่มีหลากหลายรสชาติ

           แม้ลูกเดือยจะมีคุณประโยชน์ดีต่อสุขภาพ หากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะหรือไม่สะอาด บรรจุในภาชนะที่ด้อยคุณภาพ เก็บรักษาไม่ดีเพียงพอ ไม่สามารถป้องกันอากาศและความชื้น อาจทำให้ลูกเดือยอบกรอบมีสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา (Mycotoxin) ปนเปื้อนได้ เช่น สารพิษอะฟลาทอกซิน ซีราลีโนน กลุ่ม แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัส และ แอสเปอร์จิลลัส พาราซิติกัส ที่มักพบปนเปื้อนในอาหารจำพวกแป้ง ถั่ว ถั่วลิสง อาหารแห้ง เช่น ผัก ผลไม้อบแห้ง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง เนื้อมะพร้าวแห้ง พริกแห้ง พริกไทย งา เมล็ดมะม่วงหิมพานต์

           สารพิษชนิดนี้ทนความร้อนได้ถึงระดับอุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส ฉะนั้น ระดับความร้อนที่เราใช้ปรุงอาหารจนเดือดหรือสุกอยู่ทุกวันนี้ ไม่สามารถทำลายได้

           เมื่อร่างกายได้รับอะฟลาทอกซินเข้าไปจากการทานอาหารเป็นจำนวนมาก หรือจำนวนน้อย แต่หากได้รับเป็นประจำ เกิดการสะสมกระทั่งส่งผลให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทําลาย หัวใจและสมองบวม ที่ร้ายกว่านั้นคือ สารพิษชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งตับ

           เพื่อคลายความกังวลของผู้รักสุขภาพ “สถาบันอาหาร” สุ่มเก็บตัวอย่างลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซิน

           ผลปรากฏว่าลูกเดือยปรุงรสอบกรอบทั้ง 5 ตัวอย่าง ไม่พบสารพิษอะฟลาทอกซินปนเปื้อน.

ผลวิเคราะห์อะฟลาท็อกซินในลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

อะฟลาท็อกซิน  (ไมโครกรัม/ กิโลกรัม)

ลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ ยี่ห้อ 1

ไม่พบ

ลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ ยี่ห้อ 2

ไม่พบ

ลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ ยี่ห้อ 3

ไม่พบ

ลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ ยี่ห้อ 4

ไม่พบ

ลูกเดือยปรุงรสอบกรอบ ยี่ห้อ 5

ไม่พบ

 

วันที่วิเคราะห์ 26 - 31 ก.ค. 2562      วิธีวิเคราะห์  In-house method by Fluorometer based

on Vicam Aflatest Instruction Manual, 2014   ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย

สถาบันอาหาร  กระทรวงอุตสาหกรรม    โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins