สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
คลอเลสเตอรอลกับแกงกะทิ

คลอเลสเตอรอลกับแกงกะทิ

          คอเลสเตอรอล เป็นไขมันอีกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ในร่างกาย    เยื่อสมองปกติเราได้รับคอเลสเตอรอลจาก 2 แหล่งคือ ร่างกายสังเคราะห์เองที่ตับและลำไส้ และได้จากการทานอาหาร เช่นไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล อาหารที่มีโขมันสูงคอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ คอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ที่ช่วยขนถ่ายคลอเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลาย ช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

          ทว่า หากร่างกายได้รับคอเลสเตอรอลปริมาณมากๆ  จากการทานอาหารอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ เพราะคลอเลสเตอรอลโดยเฉพาะชนิดร้าย (LDL) จะไปสะสมอยู่ในผนังของหลอดเลือดและหากสะสมเป็นเวลานาน คลอเลสเตอรอลจะไปจับเกาะบริเวณผนังเส้นเลือดแดง เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือหัวใจ  ทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดได้ยาก หากหลอดเลือดตีบตันจะทำให้อวัยวะนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจวายเฉียบพลัน

          วันนี้ สถาบันอาหารได้เก็บตัวอย่างแกงกะทิ จำนวน  5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ที่วางจำหน่ายในตลาดและร้านค้าแผงลอยย่านต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ และนนทบุรี เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณคอเลสเตอรอล ปรากฎว่า พบคลอเลสเตอรอลในปริมาณ  5.76 – 60.38 มิลลิกรัม/ 100 กรัม หรือมีปริมาณคลอเลสเตอรอล  25.92 - 362.28  มิลลิกรัมในตัวอย่างแกง 1 ถุง โดยในแต่ละวันแนะนำให้คนไทยอายุตั้งแต่  6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) ควรได้รับคลอเลสเตอรอลจากอาหาร ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน  เห็นผลวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว ขอแนะว่าท่านที่ชอบทานแกงกะทิควรทานผักที่มีเส้นใยร่วมด้วย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยของหลอดเลือดทั่วร่างกายเรา///

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

 

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins