สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
ขนมลูกชุบกับสีผสมอาหาร

ขนมลูกชุบกับสีผสมอาหาร

 

        ขนมลูกชุบ ขนมหวานไทยๆที่มีสีสันฉูดฉาด สวยงาม รูปทรงเป็นผักหรือผลไม้ไทยนานาชนิด เช่น พริก มะเขือเทศ ส้ม มังคุด มะม่วง ชมพู่ ทุเรียน กล้วย เชอร์รี่ สีผสมอาหารสังเคราะห์ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ขนมลูกชุบมีสีสันสดใส สวยงาม น่าทาน ผู้ผลิตนิยมใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์มากกว่าใช้สีธรรมชาติเพราะใช้งานง่าย และมีราคาถูก เช่น ใช้สีเอโซรูบีน (แดงเข้ม), บริลเลียนต์ บลู เอฟซีเอฟ (น้ำเงิน), อีริโทรซิน (ชมพู), ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (เขียว), อินดิโกทิน (น้ำเงินเข้ม), ปองโซ 4 อาร์ (แดงสด), ซันเซตเยลโลว เอฟซีเอฟ (เหลืองส้ม) และตาร์ตราซิน (เหลือง) ตามกฎหมายของไทยอนุญาตให้ใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ทั้ง 8 ชนิดนี้ได้เฉพาะในอาหารตามชนิดและปริมาณที่อนุญาตเท่านั้น เพราะหากร่างกายได้รับสีผสมอาหาร (สีสังเคราะห์) ในปริมาณมากเกินไปหรือบ่อยครั้ง อาจทำให้เกิดอันตรายจากโลหะหนักที่อาจปนเปื้อนอยู่ในสีผสมอาหารและสีจะไปเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร ลำไส้ ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยอาหารออกมาไม่สะดวก ส่งผลให้อาหารย่อยยาก มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขัดขวางการดูดซึมอาหาร หรืออาจมีอาการตับ ไตอักเสบ

        สถาบันอาหารเก็บตัวอย่างขนมลูกชุบจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้าน ที่ขายตามท้องตลาดในเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ชนิดและปริมาณสีผสมอาหาร ผลวิเคราะห์พบว่าขนมลูกชุบทั้ง 5 ตัวอย่าง พบสีผสมอาหาร 5 ชนิด ได้แก่ เอโซรูบีน (สีแดงเข้ม), บริลเลียนต์ บลู เอฟซีเอฟ (สีน้ำเงิน), ปองโซ 4 อาร์ (สีแดงสด), ซันเซตเยลโลวเอฟซีเอฟ (สีเหลืองส้ม) และตาร์ตราซิน (สีเหลือง) แต่ปริมาณที่พบน้อยกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

        วันนี้ ท่านที่ชื่นชอบของหวานอย่างลูกชุบสามารถทานได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่ควรทานมากเกินไป หรือเป็นประจำ แม้ขนมลูกชุบจะมีสีผสมอาหารอยู่น้อย แต่หากได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ หรือบ่อยๆ อาจสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดอันตรายระยะยาวได้.

 

ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins