สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคใน... น้ำพริก

เชื้อก่อโรคใน... น้ำพริก

น้ำพริก เครื่องจิ้มที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ส่วนใหญ่ทานคู่กับผักนานาชนิดทั้งสด ลวก ต้มสุก

น้ำพริกมีพริกเป็นส่วนประกอบหลัก หากใส่ส่วนผสมหลักที่เป็นเนื้อสัตว์ลงไปด้วยจะเรียกชื่อตามนั้น

เช่น น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทู น้ำพริกปลากรอบ น้ำพริกปลาป่น น้ำพริกปลาสลิด น้ำพริกกุ้งมะขาม

นอกจากพริก ยังมีเครื่องเทศ  สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ

หาได้ง่ายตามแปลงผักสวนครัว หรือตลาดสดทั่วๆ ไป  วิธีปรุงง่ายแสนง่าย

เริ่มจากนำวัตถุดิบ เช่น พริก เครื่องเทศ สมุนไพรมาล้างทำความสะอาด 

หั่นหรือซอยแล้วใส่ลงในครก ตำให้ละเอียด ใส่เนื้อสัตว์ เพียงเท่านี้ก็ได้น้ำพริกสดๆ ทานกันในครอบครัว

แต่หากไม่สะดวกหาซื้อวัตถุดิบมาปรุงทานเอง  ก็ต้องพึ่งน้ำพริกสำเร็จรูปที่บรรจุถุง หรือถ้วยพลาสติก

มีวางขายทั่วไปตามท้องตลาด  ซูเปอร์มาร์เก็ตหลากหลายยี่ห้อ

ที่คนทานไม่อาจรู้เลยว่ากระบวนการผลิต การปรุง ตลอดจนการเก็บรักษาก่อนถึงมือผู้บริโภคอย่างเราๆ ว่าเป็นมาอย่างไร

และมีเชื้อก่อโรคนานาชนิดปนเปื้อนอยู่ด้วยหรือไม่

เช่น เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์   เชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้

พบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมทั้ง ดิน น้ำ อากาศ  หากวัตถุดิบที่นำมาปรุงปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้

แล้วผู้ผลิตนำมาล้างทำความสะอาดไม่ดีเพียงพอก่อนนำมาปรุงเป็นน้ำพริก   

อีกทั้งหากอุปกรณ์  ภาชนะที่สัมผัสวัตถุดิบ และน้ำพริกไม่ผ่านการล้างทำความสะอาดให้เพียงพอ

หรือผู้ผลิตไม่รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลในระหว่างการผลิต  เชื้อเหล่านี้ก็อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำพริกได้ 

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุ่มตัวอย่างน้ำพริกแห้งบรรจุถุงและถ้วยพลาสติก

หรือบรรจุขวดแก้วที่วางขายตามท้องตลาดจำนวน  5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส

และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์  ปนเปื้อน  ผลวิเคราะห์ปรากฏว่าทุกตัวอย่างพบเชื้อก่อโรค

ทั้ง 2 ชนิดปนเปื้อน  แต่ปริมาณที่พบน้อยมาก และน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

ตามเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (2560) กำหนดให้

อาหารปรุงสุกหรืออาหารผ่านกรรมวิธีมีเชื้อ บาซิลลัส  ซีเรียส ปนเปื้อนได้ไม่เกิน  1,000 ซีเอฟยู/ กรัม

และพบเชื้อ คลอสตริเดียม  เพอร์ฟริงเจนส์  ปนเปื้อนได้ไม่เกิน  100 ซีเอฟยู/ กรัม

วันนี้ น้ำพริกไทยๆ ยังปลอดภัยอยู่ ///

ผลวิเคราะห์เชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ ในน้ำพริก

 

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

 เชื้อก่อโรค (ซีเอฟยู/ กรัม)

บาซิลลัส ซีเรียส

คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์

น้ำพริกกุ้งมะขามแห้งยี่ห้อ 1 บรรจุถ้วยพลาสติก

74

10

น้ำพริกปลากรอบยี่ห้อ 2 บรรจุขวดแก้ว

10

น้อยกว่า 10

น้ำพริกปลาสลิดยี่ห้อ 3 บรรจุถ้วยพลาสติก

น้อยกว่า 10

น้อยกว่า 10

น้ำพริกนรกกุ้งยี่ห้อ 4 บรรจุถ้วยพลาสติก

น้อยกว่า 10

น้อยกว่า 10

น้ำพริกนรกแมงดายี่ห้อ 5 บรรจุถุงพลาสติก

น้อยกว่า 10

น้อยกว่า 10

 

          วันที่วิเคราะห์ 20 ก.พ. – 6 มี.ค. 2561    วิธีวิเคราะห์ FDA-BAM Online, 2012 (Chapter 14) และ FDA-BAM Online, 2012 (Chapter 16)    

          ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย   สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม   

          โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins