สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคในปลาแซลมอนรมควัน

เชื้อก่อโรคในปลาแซลมอนรมควัน

ปลาแซลมอน หรือราชาแห่งปลาทะเล เมนูที่มีเนื้อปลาแซลมอนนับเป็นเมนูแห่งความหรูหรา

แต่ทุกวันนี้เราไม่ได้พบเห็นเมนูปลาแซลมอนแค่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นราคาแพง 

แต่ยังเห็นตามร้านซูชิริมทาง และรถเข็นตามบาทวิถีอีกจำนวนมาก

เนื้อปลาแซลมอน เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีโอเมก้า 3

ที่ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เพิ่มระดับไขมันชนิดดี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด

และลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยาก

แม้ว่าเนื้อปลาแซลมอนจะมีประโยชน์มากเพียงใด แต่หากขั้นตอนการปรุงหรือการผลิตไม่สะอาด

หรือผู้ปรุงอาหารขาดการรักษาสุขลักษณะที่ดีระหว่างการปรุงหรือการผลิต

และรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลไม่ดีเพียงพอ  อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อก่อโรค  

ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ได้  เชื้อชนิดนี้สามารถเติบโตได้ทุกอุณหภูมิ แม้ที่อุณหภูมิต่ำ

ถึง 2.5 องศาเซลเซียส และสามารถทนความร้อนได้ดี อุณหภูมิที่จะทำให้เชื้อชนิดนี้ตาย

ต้องเป็นความร้อนในระดับพาสเจอไรซ์

แต่ส่วนใหญ่ เราจะทานเมนูปลาแซลมอนแบบดิบๆ  ฉะนั้นจะต้องระวังตั้งแต่การเลือกซื้อวัตถุดิบ

ความสะอาดของภาชนะ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้สัมผัสเนื้อปลาและภาชนะที่ใช้บรรจุ

เพราะหากเราได้รับเชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส  เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดโรค  Listeriosis                  

หรือโลหิตเป็นพิษและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอาการคล้ายเป็นหวัด

เช่น มีไข้ ปวดหัว มีอาการท้องเสีย อาเจียน อาการติดเชื้อ ในกระแสเลือดอื่น ๆ

วันนี้ สถาบันอาหาร ได้สุมเก็บตัวอย่าง ปลาแซลมอนรมควัน จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ยี่ห้อ

ที่วางจำหน่ายในไทยมาตรวจวิเคราะห์เชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส  

ผลปรากฏว่าไม่พบการปนเปื้อนในปลาแซลมอนทั้ง 5 ตัวอย่าง

วันนี้ท่านที่ชื่นชอบปลาแซลมอนรมควัน คงทานกันได้อย่างสบายใจ ///

ผลวิเคราะห์เชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ในปลาแซลมอนรมควัน

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส

(พบ ไม่พบ/ 25 กรัม)

ปลาแซลมอนรมควัน แล่แผ่นบาง สูตรพริกไทยดำ ยี่ห้อ 1

ไม่พบ

ปลาแซลมอนรมควัน รสพริกไทยดำ ยี่ห้อ 2

ไม่พบ

ปลาแซลมอนรมควัน ยี่ห้อ 3

ไม่พบ

ปลาแซลมอนรมควัน ยี่ห้อ 4

ไม่พบ

ปลาแซลมอนรมควัน ยี่ห้อ 5

ไม่พบ

 

     วันที่วิเคราะห์ 30 พ.ค. – 6 มิ.ย. 2561     วิธีวิเคราะห์ ISO 11290-1 : 1996/Amd. 1:2004

     ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย  สถาบันอาหาร  กระทรวงอุตสาหกรรม

     โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins