สถาบันอาหาร | National Food Institute| อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
เชื้อก่อโรคกับเมล่อนนำเข้า

เชื้อก่อโรคกับเมล่อนนำเข้า

ผลไม้ตระกูลแตงที่ให้ความหวานสดชื่นนอกจากแตงโมสีแดงสดใสแล้วยังมีอีก 2 ชนิด

ที่คนไทยนิยมทานคือ แคนตาลูป และเมล่อน ผลไม้ทั้งสองชนิดนี้เริ่มปลูกกันมากในประเทศไทย

โดยพันธุ์แคนตาลูปที่นิยมปลูกคือ พันธุ์ฮันนี่ ซันเลดี้ ฮันนี่ดิว และพันธุ์เมล่อนคือ

กรีนเนท, พอทออเร้นจ์, ซันเนท 858, มอร์นิ่งวัน 875 เป็นต้น

เพราะเหมาะกับสภาพภูมิอากาศของไทย หรือปรับสายพันธุ์ให้เหมาะสำหรับเพาะปลูกในไทยแล้ว

เมล่อนเป็นแตงที่มีกลิ่นหอม หวาน รสชาติอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามินเอ และวิตามินซีสูง

ยิ่งเมล่อนนำเข้าจะดูดีมีราคา สีสันสวยงามจนบางครั้งผู้บริโภคอาจเข้าใจว่าน่าจะเป็นผลไม้

ที่ปลอดภัยจากการปนเปื้อนต่างๆ  ทว่าหากใครที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับอาหารการกิน

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคงเคยได้ยินข่าวการตายของชาวออสเตรเลียจากการบริโภคเมล่อน

ที่ปลูกในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เนื่องจากมีเชื้อก่อโรค ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส  ปนเปื้อน

วันนี้ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคชาวไทยอีกครั้ง

สถาบันอาหาร ได้ทำการสุ่มตัวอย่างเมล่อนนำเข้าที่วางขายในซุปเปอร์มาเก็ตตามย่านต่างๆ

ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 5 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปนเปื้อนของเชื้อ  ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส

เชื้อก่อโรคชนิดนี้พบได้ทั่วไปในน้ำ น้ำเสีย อุจจาระคนและสัตว์

ฉะนั้นจึงอาจพบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ที่เพาะปลูกในดิน หรือใช้น้ำจากแหล่งน้ำ

ที่ปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวรดในช่วงเพาะปลูกได้ 

หากได้รับเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจากการทานอาหารที่ปนเปื้อนจะทำให้เกิดอาการคล้ายโรคหวัด

คือ วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว มีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียนและอาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดได้

แต่ผลการวิเคราะห์เมล่อนครั้งนี้ ปรากฎว่าไม่พบเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อนในเมล่อนทั้ง 5 ตัวอย่าง เลย

เพื่อความสบายใจ ขอแนะวิธีป้องกันเชื้อดังกล่าวไม่ให้ติดต่อเข้าสู่ร่างกาย  4 ข้อง่ายๆ คือ

1. ทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ มีด ช้อน ส้อม เขียง ภาชนะใส่อาหาร ให้สะอาดอยู่เสมอ

2. ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนจับเครื่องมือเครื่องใช้หรืออาหาร

3. จัดเก็บอาหารสดโดยแยกออกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้ว

4. เก็บอาหารในอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสหรืออุณภูมิต่ำกว่า

เพื่อยับยั้งการเติบโตของเชื้อที่อาจปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ///

ผลวิเคราะห์เชื้อ ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส ในเมล่อนนำเข้า

 

ตัวอย่างที่สุ่มตรวจ

 ลิสทีเรีย โมโนไซโตจิเนส

(พบ, ไม่พบ/  25 กรัม)

เมล่อนนำเข้า ร้านที่ 1 ย่านจตุจักร

ไม่พบ

เมล่อนนำเข้า ซุปเปอร์มาเก็ต 1 ย่านนนทบุรี

ไม่พบ

เมล่อนนำเข้า ซุปเปอร์มาเก็ต 2 ย่านอารีย์

ไม่พบ

เมล่อนนำเข้า ซุปเปอร์มาเก็ต 3 ย่านสยาม

ไม่พบ

เมล่อนนำเข้า ร้านที่ 2 ย่านสามย่าน

ไม่พบ

 

วันที่วิเคราะห์  28 ก.ย. –  4 ต.ค. 2561     วิธีวิเคราะห์  ISO 11290-1: 1996 /Amd.1:2004  

ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย  สถาบันอาหาร  กระทรวงอุตสาหกรรม 

โทร. 02 422 8688 หรือ http://www.nfi.or.th/foodsafety/

เอกสารเพิ่มเติม :
แนะนำลิงก์


Style Switcher

2 Color Skins